วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

ปล่อยของ ตอน ปิโตรเคมีเรื่องที่เราต้องอ่านสอบ

                                          


 
           เรามารู้จักเจ้าพลังงาน  ซากดึกดำบรรพ์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันดีกว่า  ปิโตรเลียม  มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน  2  คำ  คือ  เพทรา  ( Petra)  แปลว่า  หิน  กับโอลิอุม  ( Oleum )   แปลว่าน้ำมัน  เมื่อรวมกันแล้วมันจึงมีความหมายว่า  น้ำมันที่ได้จากหินนั้นเอง  ปิโตรเลียมเป็นสารประกอบประเภทโฮโดรคาร์บอนและสารอินทรีย์หลายชนิดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ   ปรากฏอยู่ในสถานะของเหลวและแก๊ส  น้ำมันดิบจากแหล่งต่างๆก็อาจมีสมบัติทางกายภาพแตกต่างกันได้  เช่น  ข้น  เหนียวจนถึงหนืดคล้ายยางมะตอย  มีทั้งสีเหลือง  สีเขียว  สีน้ำตาลไปจนถึงสีดำ   น้ำมันดิบส่วนใหญ่เป็นสารประกอบโฮโดรคาร์บอนประเภทแอลเคนและไซโคลแอลเคน    อาจมีกำมะถัน ไนโตรเจน  และสารประกอบออกไซด์อื่นๆปนอยู่เล็กน้อย 
         ส่วนแก๊สธรรมชาติ  ประกอบไปด้วยสารประกอบไฮโดรคาร์บอนตั้งแต่ 1-5  อะตอมมีสถานะเป็นของเหลวและแก๊ส  ในการขุดเจาะเราจะไม่สามารถใช้งานจากปิโตรเลียมได้ในทันที  ต้องมีกระบวนการแยกสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเสียก่อนและวิธีที่เป็นที่นิยมใช้กันคือ  การกลั่นแบบลำดับส่วน  ซึ่งก็มีขั้นตอนไม่ซับซ้อนเท่าการขุดเจาะ  เพราะการขุดเจาะต้องอาศัยภาพถ่ายดาวเทียม
 
 
 
 
 
    

ภาพถ่ายดาวเทียวอย่างเดียวก็ไม่สามารถบอกเราได้ว่ามันมีอยู่จริงหรือเปล่า นอกเสียจากการลงมือขุดเจาะ เราจึงจะรู้ได้ว่ามันมีอยู่เท่าไหน มากน้อยเพียงใด สามารถนำไปใช้เชิงพาณิชย์ได้หรือไม่ นอกจากนี้การค้นพบแหล่งปิโตรเลียมหรือการมีแหล่งปิโตรเลียมใช้ภายในประเทศยังเป็นตัวชี้วัดได้ว่า ประเทศนั้นๆมีความมั่งคั่ง ร่ำรวย มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ ประชาชนอยู่ดีกินดี ประเทศไทยของเราทำการขุดเจาะทั้งบนบกและทางทะเลรวมทั้งหมดจำนวน 55 ครั้ง ซึ่งในแต่ล่ะครั้งใช้ทุนทรัพย์จำนวนมากมายในการขุดเจาะและความพยายามที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในประเทศ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น