วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปล่อยของตอน มุมกว้างพลาสติก

พลาสติก
พลาสติก  คือ  ส่วนหนึ่งในชีวิตของเราก็ว่าได้  เพื่อนๆ ท่านผู้มีความคิดทั้งหลายสังเกตบ้างหรือไหมว่า  เราผูกพันรักใคร่พลาสติกดังอวัยวะส่วนหนึ่งของเรา  เพราะพลาสติกบางชนิดก็ทำคุณประโยชน์แก่เรามากมาย เช่น  ซิลิโคน ที่ใช้ทำอวัยวะเทียม เพื่อทดแทนอวัยวะที่เราไม่สามารถสร้างเองได้  อาทิ เมื่อกระดูกเราร้าวจากการกระแทก  แตกเป็นชิ้น ที่ไม่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาทดแทนได้  ซิลิโคนเป็นพลาสติกที่นิยมใช้มาก เพราะมันไม่ทำปฏิกิริยากับร่างกายของเรา และยังอดทนได้ทุกสภาพความเป็นกรดเป็นเบสและนอกจากนี้ยังใช้ซิลิโคนทำอุปกรณ์ทางการแพทย์อีกด้วย








 
พลาสติก (Plastic) คือ สารที่สามารถทำให้เป็นรูปต่าง ๆ ได้ด้วยความร้อน พลาสติกเป็นพอลิเมอร์ ขนาดใหญ่ มวลโมเลกุลมาก
สมบัติทั่วไปของพลาสติก
  • มีความเสถียรมากในธรรมชาติ สลายตัวยาก มีมวลน้อย และเบา
  • เป็นฉนวนความร้อนและไฟฟ้าที่ดี
  • ส่วนมากอ่อนตัวและหลอมเหลวเมื่อได้รับความร้อน จึงเปลี่ยนเป็นรูปต่างๆ ได้ตามประสงค์

ประเภทของพลาสติก

1. เทอร์มอพลาสติก เมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัว และเมื่อเย็นลงจะแข็งตัว สามารถเปลี่ยนรูปได้ พลาสติกประเภทนี้โครงสร้างโมเลกุลเป็นโซ่ตรงยาว มีการเชื่อมต่อระหว่างโซ่พอลิเมอร์น้อยมาก จึงสามารถหลอมเหลว หรือเมื่อผ่านการอัดแรงมากจะไม่ทำลายโครงสร้างเดิม ตัวอย่าง พอลิเอทิลีน พอลิโพรพิลีนพอลิสไตรีน




 
 
 
         เทอร์มอพลาสติก ถ้าเราอยากจะเข้าใจง่ายๆ ก็คือ พลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้หรือขึ้นรูปใหม่ได้นั้นเอง 
 
 
 
 
 
 
 
 




2. พลาสติกเทอร์มอเซต จะคงรูปหลังการผ่านความร้อนหรือแรงดันเพียงครั้งเดียว เมื่อเย็นลงจะแข็งมาก ทนความร้อนและความดัน ไม่อ่อนตัวและเปลี่ยนรูปร่างไม่ได้ แต่ถ้าอุณหภูมิสูงก็จะแตกและไหม้เป็นขี้เถ้าสีดำ พลาสติกประเภทนี้โมเลกุลจะเชื่อมโยงกันเป็นร่างแหจับกันแน่น แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลแข็งแรงมาก จึงไม่สามารถนำมาหลอมเหลวได้ ตัวอย่าง เมลามีน พอลิยูรีเทน
 
 
 
 
 
      พลาสติกประเภทเทอร์มอเซตนั้น  เป็นพลาสติกที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได่อีก บันปลายชีวิตของพลาสติกเทอร์มอเซตคือ  กลายเป็นขี้เถ้า
ถ้วยชามที่เราใช้อยู่ทุกวัน  ก็ทำมาจากพลาสติกประเภทเทอร์มอเซตเหมือนกัน




วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปล่อยของ ตอน พอลิมอร์


                               พอลิเมอร์
 

      พอลิเมอร์ (Polymer) คือ สารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ และมีมวลโมเลกุลมากประกอบด้วยหน่วยเล็ก ๆ ของสารที่อาจจะเหมือนกันหรือต่างกันมาเชื่อมต่อกันด้วย  หลายๆคนอาจยังเคยชินกับคำมาเสื้อผ้าสังเคราะห์  แต่จริงๆแล้ว มันคือสิ่งเดียวกัน
 
                                                                 พันธะโควาเลนต์



มอนอเมอร์ (Monomer) คือ หน่วยเล็ก ๆ ของสารในพอลิเมอร์

ประเภทของพอลิเมอร์ แบ่งตามเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้

1. แบ่งตามการเกิดเป็นเกณฑ์ เป็น 2 ชนิด คือ
ก . พอลิเมอร์ธรรมชาติ เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น โปรตีน แป้ง เซลลูโลส ไกโคเจน กรดนิวคลีอิก และยางธรรมชาติ (พอลีไอโซปรีน)  แม้ธรรมชาติจะมีดีอยู่แล้ว แต่ก็ด้อยกว่าบางประการ พอลิเมอร์ธรรมชาติที่เราคุ้นเคย ก็คือ ผ้าฝ้าย  ที่มนุษย์เรา  รู้จักนำมาถักทอเป็นเครื่องหุ่งห่มและสวมใส  ใยฝ้าย  คือส่วนที่เราได้จากเซลโลลูสหรือเรียกอีกอย่างว่า เปลือกฝ้าย   นอกจากนี้  เรายังสามารถนำปอ  ลินิน  น้ำยางสดมาใช้ให้เกิดประโยชน์

   ต้นยางพารา 
 

 ข. พอลิเมอร์สังเคราะห์ เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจาก
การสังเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ต่างๆ เช่น 
พลาสติกไนลอน  ดาครอนและลูไซต์  เป็นต้น

 
 

 


2. แบ่งตามชนิดของมอนอเมอร์ที่เป็นองค์ประกอบ เป็น 2 ชนิด คือ
        ก . โฮมอลิเมอร์ (Homopolymer) เป็นพอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยมอนอเมอร์ชนิดเดียวกัน เช่น แป้ง(ประกอบด้วยมอนอเมอร์ที่เป็นกลูโคสทั้งหมด) พอลิเอทิลีน PVC (ประกอบด้วยมอนอเมอร์ที่เป็นเอทิลีนทั้งหมด)
                                                                                  ท่อน้ำ
 
 
 
ข . เฮเทอโรพอลิเมอร์ (Heteropolymer) เป็นพอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยมอนอเมอร์ต่างชนิดกัน เช่น โปรตีน (ประกอบด้วยมอนอเมอร์ที่เป็นกรดอะมิโนต่างชนิดกัน) พอลิเอสเทอร์ พอลิเอไมด์ เป็นต้น


 
                                                               เส้นใยสังเคราะห์ต่างๆ

3. แบ่งตามโครงสร้างของพอลิเมอร์ แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ
       ก. พอลิเมอร์แบบเส้น (Chain length polymer) เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์สร้างพันธะต่อกันเป็นสายยาว โซ่พอลิเมอร์เรียงชิดกันมากว่าโครงสร้างแบบอื่น ๆ จึงมีความหนาแน่น และจุดหลอมเหลวสูง มีลักษณะแข็ง ขุ่นเหนียวกว่าโครงสร้างอื่นๆ ตัวอย่าง PVC พอลิสไตรีน พอลิเอทิลีน ดังภาพ
 
 

      ข. พอลิเมอร์แบบกิ่ง (Branched polymer) เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์ยึดกันแตกกิ่งก้านสาขา มีทั้งโซ่สั้นและโซ่ยาว กิ่งที่แตกจาก พอลิเมอร์ของโซ่หลัก ทำให้ไม่สามารถจัดเรียงโซ่พอลิเมอร์ให้ชิดกันได้มาก จึงมีความหนาแน่นและจุดหลอมเหลวต่ำยืดหยุ่นได้ ความเหนียวต่ำ โครงสร้างเปลี่ยนรูปได้ง่ายเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น ตัวอย่าง พอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ ดังภาพ
 


ค. พอลิเมอร์แบบร่างแห (Croos -linking polymer) เป็น พอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์ต่อเชื่อมกันเป็นร่างแห่   พอลิเมอร์ชนิดนี้มีความแข็งแกร่ง และเปราะหักง่าย ตัวอย่างเบกาไลตเมลามีนใช้ทำถ้วยชาม ดังภาพ
  



หมายเหตุ พอลิเมอร์บางชนิดเป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากสารอนินทรีย์ เช่น ฟอสฟาซีน ซิลิโคน